หมากกระดาน
หมากรุก
การประลองชั้นเชิงบนแผ่นกระดานด้วยสติปัญญา และไหวพริบ เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้นี่คือศาสตร์และศิลป์ของตำนานการต่อสู้นับพันปี
การเล่นหมากรุกจะมีผู้เล่น 2 ฝ่าย เวลาเล่นจะต้องหันหน้าเข้าหากัน วางกระดานหมากรุกไว้ตรงกลาง กระดานมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตีตารางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส 64 ช่อง แต่ละด้านมี 8 ช่อง แต่ละช่องเรียกว่าตา แต่ละฝ่ายตั้งตัวหมากในช่องแรกบนกระดานตรงด้านหน้าของตัวเอง เรียงจากซ้ายไปขวา ตาละ 1 ตัว เริ่มจาก เรือ ม้า โคน เม็ด ขุน โคน ม้า เรือ จากนั้นเว้นขึ้นไป 1 แถว เอาเบี้ยวางลงในแถวที่ 3 โดยเรียงตาละ 1 ตัว จนครบ 8 ตา เมื่อตั้งหมากเรียบร้อยก็เริ่มเล่นได้ โดยมีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะเป็นผู้เริ่มเดินก่อน แล้วผลัดกันเดินสลับกันไป หมากของแต่ละฝ่ายมี 16 ตัว แบ่งเป็น 6 พวก มีลักษณะและจำนวนดังนี้
– เบี้ย รูปกลมแป้นเล็กๆ มี 8 ตัว
– เรือ รูปกลมแป้นเหมือนกัน แต่ใหญ่กว่าเบี้ย มี 2 ตัว
– ม้า รูปหัวม้า มี 2 ตัว
– โคน รูปกลมสูง มี 2 ตัว
– เม็ด รูปคล้ายโคน แต่เล็กกว่าและเตี้ยกว่า มี 1 ตัว
– ขุน รูปทรงสูง ขนาดใหญ่ที่สุด มี 1 ตัว
หมากรุกไทย
หมากรุกไทยเริ่มเล่นกันแต่เมื่อใด เราคิดกันเองหรือรับมาจากชาติใด เป็นข้อสงสัยที่ยังหาคำตอบไม่ได้ เพราะขาดข้อมูลหลักฐานสนับสนุนที่มีน้ำหนักเพียงพอ จนกระทั่งสมัยสุโขทัย (ประมาณปี พ.ศ.๑๙๐๐) ได้ปรากฏข้อความตอนหนึ่งของศิลาจารึกหลักที่ ๓ (จารึกนครชุม) นับเป็นพยานหลักฐานเอกสารชิ้นแรกที่กล่าวถึงต้นกำเนิดของหมากรุกไทย และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๙ – ๒๔๑๔
กรมศิลปากรได้ขุดพบตัวหมากรุกทำด้วยดินเผาเคลือบ มีทั้งสีขาวหม่น สีเขียวมะกอก และสีน้ำตาลแก่ บริเวณโบราณสถานเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร อายุประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๐ – ๒๐๐๐ หมากรุกในสมัยสุโขทัยจะเล่นกันในหมู่ชนชั้นสูงและพระสงฆ์
หมากรุกไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีหลักฐานกล่าวถึงการเล่นหมากรุกไทยตลอดระยะเวลา ๔๐๐ ปี อาจเป็นเพราะคนไทยไม่ชอบบันทึกเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ประกอบกับการทำสงครามในสมัยนั้น
หมากรุกไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นจากปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดการเล่นหมากรุก ตั้งแต่ขณะทำหน้าที่รักษาเมืองพิษณุโลก ป้องกันการบุกโจมตีจากกองทัพของอะแซหวุ่นกี้ ขุนศึกจากแดนหงสาวดี ท่านมักใช้เวลาว่างเล่นหมากรุกกับนายทหารคนสนิทเป็นประจำ
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดเกล้าให้กวีเด่นๆ ในราชสำนัก แต่งกลอนเสภา และนับเป็นกลอนเสภาที่ดีที่สุด “ ขุนช้าง – ขุนแผน ” โดยมีการกล่าวถึงหมากรุกอยู่หลายตอน
หลังจากสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ.2325 แล้ว ก็ได้ปรากฏว่ามีการเล่นหมากรุกกันมากในพระราชวงศ์ ดังจะเห็นมีหมากรุกงาและเขาสัตว์แสดงความเก่าแก่มานาน และได้แพร่หลายไปตามหมู่เจ้านาย ไพร่พล หมู่ทหาร ข้าราชบริพาร และวัดวาอารามต่าง ๆ จนในที่สุดก็เข้าถึงประชาชนโดยทั่วไป ดังจะเห็นมีตำรากลหมากรุกฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ โดยเจ้าพระยาอภัยราชา มหายุติธรรมธร ให้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2465
ประโยชน์ของการเล่นหมากรุก
– ส่งเสริมให้มีความฉลาดทางปัญญา Intelligence Quotient (IQ) เพราะจะมีสมาธิในการเรียนและการทำกิจกรรมได้เป็นเวลานานขึ้น สามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
– ส่งเสริมให้มีความฉลาดทางอารมณ์ Emotional Quotient (EQ) เพราะจะเป็นการฝึกการควบคุม การรับรู้ และความเข้าใจในอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น ไม่หุนหันพลันแล่น
– ส่งเสริมให้มีความอดทนต่อสถานการณ์ Adversity Quotient (AQ) คนที่มีความอดทนจะสามารถตัดสินใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และค่อยๆ แก้ปัญหาจนสามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส จากผู้แพ้กลับมาเป็นผู้ชนะได้
– ส่งเสริมให้มีคุณธรรม จริยธรรม Moral Quotient (MQ) เพราะการแข่งขันกีฬาทุกชนิด มีแพ้ มีชนะ ต้องมีน้ำใจนักกีฬาไม่เอาเปรียบผู้อื่น และควรปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
– ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในสังคม Social Quotient (SQ) ทำให้เกิดทักษะในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ได้มิตรภาพที่ไร้ขอบเขตจากการเข้าร่วมการแข่งขัน
– ส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ Creativity Quotient (CQ) มีจินตนาการหรือความคิดใหม่ๆ ในการเล่น เพราะขณะเล่นต้องวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบล่วงหน้าหลายตา พิจารณาตาเดินที่ดีที่สุด เพื่อไปสู่เป้าหมายคือชัยชนะ
หมากฮอส
การประลองของปัญญาชน ที่ต้องชิงไหวชิงพริบ บนแผ่นกระดานของการทดสอบความสามารถของตนเอง
กระดานหมากฮอสเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเรียบ แบ่งแต่ละด้านออกเป็น 8 ช่องเท่าๆ กัน จะได้ตารางย่อย 64 ช่อง กำหนดเป็นช่องสีเข้ม 32 ช่อง และช่องสีอ่อน 32 ช่องสลับกัน ผู้ เล่น 2 ฝ่ายจะมีหมากฝ่ายละ 8 ตัว และมีสีต่างกัน เช่น ขาว และดำ เวลาตั้งกระดานให้วางตัวหมากอยู่บน 2 แถวแรกใกล้ตัวผู้เล่นแต่ละฝ่าย แถวละ 4 ตัว โดยวางเฉพาะบนตาสีเดียวกัน ตัวหมากที่ใช้เดินบนกระดาน เมื่อเริ่มเล่นเรียกว่า “เบี้ย” จะเดินได้ครั้งละ 1 ตาโดยเฉียงไปข้างหน้าครั้งละ 1 ตา สลับกันเดินเพื่อบุกไปกินตัวหมากของฝ่ายตรงข้าม แล้วเดินไปจนสุดกระดานของฝ่ายตรงข้ามเพื่อเข้าฮอส ฮอสจะได้รับสิทธิ์พิเศษในการเดินกี่ตาก็ได้ในแนวเฉียง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฝ่ายใดที่สามารถกินหมากคู่ต่อสู้จนหมดกระดาน หรือไม่สามารถเดินหมากในกระดานได้เป็นฝ่ายชนะ
สกา
กีฬาไทยจัดเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ มีความงดงามและทรงคุณค่า ซึ่งบรรพบุรุษได้ค้นคิด สืบสาน ถ่ายทอดและพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ การเล่นกีฬานอกนจากจะช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว กีฬาหลายประเภทยังช่วยให้ผู้เล่นได้ฝึกฝนสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ มีไหวพริบปฏิภาณ รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สามารถหลบหลีกคู่ต่อสู้ได้ กีฬาบางชนิดใช้ผู้เล่นเป็นหมู่คณะ ทำให้ผู้เล่นรู้จักมีความรักความสามัคคี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตลอดจนเป็นคนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่ แม้ว่าจะถูกปรับเปลี่ยนไปให้ทันยุคสมัยก็ตาม แต่ด้วยความสำนึกของความเป็นไทย เราควรร่วมกันสนับสนุนและร่วมส่งเสริม ภูมิปัญญากีฬาไทย ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์ต่อไป
กีฬาระดับเทวดา และกษัตริย์ การประลองฝีมือที่ซับซ้อนและลึกซึ้ง ดั่งโบราณว่า เล่นสกาไม่ต่างจากฝึกฝนแก้ปัญหาชีวิต ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายนั่งคนละด้านของกระดาน คว่ำตัวสกา 2 ตัวไว้ที่มุมขวาสุด เรียกว่าเกิดหรือเจ้าเมือง ตัวสกาที่เหลือใส่ไว้ในหูช้าง ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายผลัดกันทอดบาสก์ทั้ง 2 ลูก แล้วนับแต้มลูกบาสก์ 2 ลูกรวมกัน ใครได้แต้มสูงกว่ามีสิทธิ์เริ่มทอดเดินก่อน เรียกว่า “ฉ่าง” เริ่มเดินด้วยการทอดลูกบาศก์โดยใช้กระบอกทอดเทลงที่เติ่งหรือโก่งโค้งลูกบาสก์จะลงไปตั้งที่กระดานสกา จากนั้นจึงเดินสกาตามแต้มหน้าลูกบาศก์ที่ทอดได้ ถ้าฝ่ายใดลงตัวสกายังไม่หมดทุกตัว แล้วทำการ “เกิด” จะถือว่ายังไม่ได้เกิด และถูกปรับแพ้ เรียกว่า “แพ้ปอด” ในกระดานนั้น อุปกรณ์สกา กระดาน ตัวสกา ลูกบาศก์ กระบอกทอด โก่งโค้ง
หมากกระดาน
หมากรุก
การประลองชั้นเชิงบนแผ่นกระดานด้วยสติปัญญา และไหวพริบ เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้นี่คือศาสตร์และศิลป์ของตำนานการต่อสู้นับพันปี
การเล่นหมากรุกจะมีผู้เล่น 2 ฝ่าย เวลาเล่นจะต้องหันหน้าเข้าหากัน วางกระดานหมากรุกไว้ตรงกลาง กระดานมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตีตารางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส 64 ช่อง แต่ละด้านมี 8 ช่อง แต่ละช่องเรียกว่าตา แต่ละฝ่ายตั้งตัวหมากในช่องแรกบนกระดานตรงด้านหน้าของตัวเอง เรียงจากซ้ายไปขวา ตาละ 1 ตัว เริ่มจาก เรือ ม้า โคน เม็ด ขุน โคน ม้า เรือ จากนั้นเว้นขึ้นไป 1 แถว เอาเบี้ยวางลงในแถวที่ 3 โดยเรียงตาละ 1 ตัว จนครบ 8 ตา เมื่อตั้งหมากเรียบร้อยก็เริ่มเล่นได้ โดยมีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะเป็นผู้เริ่มเดินก่อน แล้วผลัดกันเดินสลับกันไป หมากของแต่ละฝ่ายมี 16 ตัว แบ่งเป็น 6 พวก มีลักษณะและจำนวนดังนี้
– เบี้ย รูปกลมแป้นเล็กๆ มี 8 ตัว
– เรือ รูปกลมแป้นเหมือนกัน แต่ใหญ่กว่าเบี้ย มี 2 ตัว
– ม้า รูปหัวม้า มี 2 ตัว
– โคน รูปกลมสูง มี 2 ตัว
– เม็ด รูปคล้ายโคน แต่เล็กกว่าและเตี้ยกว่า มี 1 ตัว
– ขุน รูปทรงสูง ขนาดใหญ่ที่สุด มี 1 ตัว
หมากรุกไทย
หมากรุกไทยเริ่มเล่นกันแต่เมื่อใด เราคิดกันเองหรือรับมาจากชาติใด เป็นข้อสงสัยที่ยังหาคำตอบไม่ได้ เพราะขาดข้อมูลหลักฐานสนับสนุนที่มีน้ำหนักเพียงพอ จนกระทั่งสมัยสุโขทัย (ประมาณปี พ.ศ.๑๙๐๐) ได้ปรากฏข้อความตอนหนึ่งของศิลาจารึกหลักที่ ๓ (จารึกนครชุม) นับเป็นพยานหลักฐานเอกสารชิ้นแรกที่กล่าวถึงต้นกำเนิดของหมากรุกไทย และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๙ – ๒๔๑๔
กรมศิลปากรได้ขุดพบตัวหมากรุกทำด้วยดินเผาเคลือบ มีทั้งสีขาวหม่น สีเขียวมะกอก และสีน้ำตาลแก่ บริเวณโบราณสถานเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร อายุประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๐ – ๒๐๐๐ หมากรุกในสมัยสุโขทัยจะเล่นกันในหมู่ชนชั้นสูงและพระสงฆ์
หมากรุกไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีหลักฐานกล่าวถึงการเล่นหมากรุกไทยตลอดระยะเวลา ๔๐๐ ปี อาจเป็นเพราะคนไทยไม่ชอบบันทึกเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ประกอบกับการทำสงครามในสมัยนั้น
หมากรุกไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นจากปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดการเล่นหมากรุก ตั้งแต่ขณะทำหน้าที่รักษาเมืองพิษณุโลก ป้องกันการบุกโจมตีจากกองทัพของอะแซหวุ่นกี้ ขุนศึกจากแดนหงสาวดี ท่านมักใช้เวลาว่างเล่นหมากรุกกับนายทหารคนสนิทเป็นประจำ
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดเกล้าให้กวีเด่นๆ ในราชสำนัก แต่งกลอนเสภา และนับเป็นกลอนเสภาที่ดีที่สุด “ ขุนช้าง – ขุนแผน ” โดยมีการกล่าวถึงหมากรุกอยู่หลายตอน
หลังจากสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ.2325 แล้ว ก็ได้ปรากฏว่ามีการเล่นหมากรุกกันมากในพระราชวงศ์ ดังจะเห็นมีหมากรุกงาและเขาสัตว์แสดงความเก่าแก่มานาน และได้แพร่หลายไปตามหมู่เจ้านาย ไพร่พล หมู่ทหาร ข้าราชบริพาร และวัดวาอารามต่าง ๆ จนในที่สุดก็เข้าถึงประชาชนโดยทั่วไป ดังจะเห็นมีตำรากลหมากรุกฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ โดยเจ้าพระยาอภัยราชา มหายุติธรรมธร ให้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2465
ประโยชน์ของการเล่นหมากรุก
– ส่งเสริมให้มีความฉลาดทางปัญญา Intelligence Quotient (IQ) เพราะจะมีสมาธิในการเรียนและการทำกิจกรรมได้เป็นเวลานานขึ้น สามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
– ส่งเสริมให้มีความฉลาดทางอารมณ์ Emotional Quotient (EQ) เพราะจะเป็นการฝึกการควบคุม การรับรู้ และความเข้าใจในอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น ไม่หุนหันพลันแล่น
– ส่งเสริมให้มีความอดทนต่อสถานการณ์ Adversity Quotient (AQ) คนที่มีความอดทนจะสามารถตัดสินใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และค่อยๆ แก้ปัญหาจนสามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส จากผู้แพ้กลับมาเป็นผู้ชนะได้
– ส่งเสริมให้มีคุณธรรม จริยธรรม Moral Quotient (MQ) เพราะการแข่งขันกีฬาทุกชนิด มีแพ้ มีชนะ ต้องมีน้ำใจนักกีฬาไม่เอาเปรียบผู้อื่น และควรปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
– ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในสังคม Social Quotient (SQ) ทำให้เกิดทักษะในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ได้มิตรภาพที่ไร้ขอบเขตจากการเข้าร่วมการแข่งขัน
– ส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ Creativity Quotient (CQ) มีจินตนาการหรือความคิดใหม่ๆ ในการเล่น เพราะขณะเล่นต้องวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบล่วงหน้าหลายตา พิจารณาตาเดินที่ดีที่สุด เพื่อไปสู่เป้าหมายคือชัยชนะ
หมากฮอส
การประลองของปัญญาชน ที่ต้องชิงไหวชิงพริบ บนแผ่นกระดานของการทดสอบความสามารถของตนเอง
กระดานหมากฮอสเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเรียบ แบ่งแต่ละด้านออกเป็น 8 ช่องเท่าๆ กัน จะได้ตารางย่อย 64 ช่อง กำหนดเป็นช่องสีเข้ม 32 ช่อง และช่องสีอ่อน 32 ช่องสลับกัน ผู้ เล่น 2 ฝ่ายจะมีหมากฝ่ายละ 8 ตัว และมีสีต่างกัน เช่น ขาว และดำ เวลาตั้งกระดานให้วางตัวหมากอยู่บน 2 แถวแรกใกล้ตัวผู้เล่นแต่ละฝ่าย แถวละ 4 ตัว โดยวางเฉพาะบนตาสีเดียวกัน ตัวหมากที่ใช้เดินบนกระดาน เมื่อเริ่มเล่นเรียกว่า “เบี้ย” จะเดินได้ครั้งละ 1 ตาโดยเฉียงไปข้างหน้าครั้งละ 1 ตา สลับกันเดินเพื่อบุกไปกินตัวหมากของฝ่ายตรงข้าม แล้วเดินไปจนสุดกระดานของฝ่ายตรงข้ามเพื่อเข้าฮอส ฮอสจะได้รับสิทธิ์พิเศษในการเดินกี่ตาก็ได้ในแนวเฉียง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฝ่ายใดที่สามารถกินหมากคู่ต่อสู้จนหมดกระดาน หรือไม่สามารถเดินหมากในกระดานได้เป็นฝ่ายชนะ
สกา
กีฬาไทยจัดเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ มีความงดงามและทรงคุณค่า ซึ่งบรรพบุรุษได้ค้นคิด สืบสาน ถ่ายทอดและพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ การเล่นกีฬานอกนจากจะช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว กีฬาหลายประเภทยังช่วยให้ผู้เล่นได้ฝึกฝนสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ มีไหวพริบปฏิภาณ รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สามารถหลบหลีกคู่ต่อสู้ได้ กีฬาบางชนิดใช้ผู้เล่นเป็นหมู่คณะ ทำให้ผู้เล่นรู้จักมีความรักความสามัคคี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตลอดจนเป็นคนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่ แม้ว่าจะถูกปรับเปลี่ยนไปให้ทันยุคสมัยก็ตาม แต่ด้วยความสำนึกของความเป็นไทย เราควรร่วมกันสนับสนุนและร่วมส่งเสริม ภูมิปัญญากีฬาไทย ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์ต่อไป
กีฬาระดับเทวดา และกษัตริย์ การประลองฝีมือที่ซับซ้อนและลึกซึ้ง ดั่งโบราณว่า เล่นสกาไม่ต่างจากฝึกฝนแก้ปัญหาชีวิต ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายนั่งคนละด้านของกระดาน คว่ำตัวสกา 2 ตัวไว้ที่มุมขวาสุด เรียกว่าเกิดหรือเจ้าเมือง ตัวสกาที่เหลือใส่ไว้ในหูช้าง ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายผลัดกันทอดบาสก์ทั้ง 2 ลูก แล้วนับแต้มลูกบาสก์ 2 ลูกรวมกัน ใครได้แต้มสูงกว่ามีสิทธิ์เริ่มทอดเดินก่อน เรียกว่า “ฉ่าง” เริ่มเดินด้วยการทอดลูกบาศก์โดยใช้กระบอกทอดเทลงที่เติ่งหรือโก่งโค้งลูกบาสก์จะลงไปตั้งที่กระดานสกา จากนั้นจึงเดินสกาตามแต้มหน้าลูกบาศก์ที่ทอดได้ ถ้าฝ่ายใดลงตัวสกายังไม่หมดทุกตัว แล้วทำการ “เกิด” จะถือว่ายังไม่ได้เกิด และถูกปรับแพ้ เรียกว่า “แพ้ปอด” ในกระดานนั้น อุปกรณ์สกา กระดาน ตัวสกา ลูกบาศก์ กระบอกทอด โก่งโค้ง